บัณฑิตศึกษา

หลักสูตร                                                                   

ภาษาไทย:        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์                                

ภาษาอังกฤษ:    Doctor of Philosophy Program in Medical Science                                

ชื่อปริญญา                                                             

ภาษาไทย:        ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์)                                     

                      ชื่อย่อ :  ปร.ด. (วิทยาศาสตร์การแพทย์)                                          

ภาษาอังกฤษ:    ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Medical Science)                                                        
                       ชื่อย่อ : Ph.D. (Medical Science)        

                  

ปรัชญา/วัตถุประสงค์                                                          

ปรัชญาของหลักสูตร คือ “หลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้คู่ คุณธรรมจริยธรรม และ มีความสามารถในการศึกษาวิจัยและมีประสบการณ์ทางการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมจากการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนำความรู้มาพัฒนาต่อยอด ถ่ายทอด หรือประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ”                                                          

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร                                                              

  1. ผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ มี ความสามารถในการศึกษาวิจัย และมีประสบการณ์ทางการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม
  2. มีความสามารถในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์นำความรู้มาพัฒนาต่อยอด ถ่ายทอด หรือประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ
  3. เพิ่มศักยภาพ ความเข้มแข็ง และสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับชาติหรือนานาชาติ                                                          

คุณสมบัติผู้เข้าสมัคร                                                           

  1. ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ 1.1 (สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท)

สำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีผลงานวิชาการในลักษณะบทความวิจัยเผยแพร่ในวารสารด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระดับชาติ (TCI กลุ่ม1) หรือระดับนานาชาติ โดยมีบทบาทเป็นผู้วิจัยหลัก หรือเป็นผู้ประพันธ์ซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับสำนักพิมพ์ (Corresponding author) จำนวนไม่น้อยกว่า 1 เรื่องที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เพื่อใช้ในการสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ 2.1 (สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท)

สำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00

  1. ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ 2.2 (สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี)

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง และ มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25

  1. เกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560
  2. ไม่มีโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาโดยมีหนังสือรับรองจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  3. มีความประพฤติดี
  4. เป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรกำหนด”

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา                                                      

  1. อาจารย์ในสถาบันศึกษา
  2. นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
  3. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องมือและวัสดุสารเคมีทางวิทยาศาตร์การแพทย์                                                

ค่าธรรมเนียม                                                           

แบบ 1.1 และแบบ 2.1                                                            

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000 บาท                                                      

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 225,000 บาท                                                        

แบบ 2.2                                                                  

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000 บาท                                                      

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 300,000 บาท                                                                                                                 

โครงสร้างหลักสูตร                                                             

แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 64 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)                                

  1. หมวดวิชาบังคับ 0 หน่วยกิต                                   

1.1 รายวิชาสัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)        8 หน่วยกิต                                            

  1. หมวดวิชาเลือก 0 หน่วยกิต                                   
  2. หมวดวิทยานิพนธ์ 64 หน่วยกิต                                                             

แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 64 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)                                 

  1. หมวดวิชาบังคับ 8 หน่วยกิต                                   

          1.1 รายวิชาบังคับ                            8 หน่วยกิต                                   

          1.2 รายวิชาสัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)        8 หน่วยกิต                                            

  1. หมวดวิชาเลือก 8 หน่วยกิต                                   
  2. หมวดวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต                                 

แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 96 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)                                

  1. หมวดวิชาบังคับ 8 หน่วยกิต                                   

          1.1 รายวิชาบังคับ                            8 หน่วยกิต                                   

          1.2 รายวิชาสัมมนา (ไม่นับหน่วยกิต)        8 หน่วยกิต                                            

  1. หมวดวิชาเลือก 24 หน่วยกิต                                 

3. หมวดวิทยานิพนธ์                                   64 หน่วยกิต