หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

 

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย        หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

          ภาษาอังกฤษ      Master of Science Program in Medical Science

ชื่อปริญญา

          ภาษาไทย        ชื่อเต็ม  วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์)

                             ชื่อย่อ   วท.ม. (วิทยาศาสตร์การแพทย์)

          ภาษาอังกฤษ     ชื่อเต็ม  Master of Science (Medical Science)

                             ชื่อย่อ   M.Sc. (Medical Science)

ปรัชญา/วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้คู่คุณธรรมจริยธรรม และ มีความสามารถในการศึกษาวิจัยและมีประสบการณ์ทางการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้ มีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีความสามารถในการศึกษาวิจัย มีประสบการณ์ทางการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมีคุณธรรมและจริยธรรม

2) มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร

  1. ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ ก.1

สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า และระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่จะเข้าศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือเทียบเท่าหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอย่างน้อย 2 ปี โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชาหรือมีประสบการณ์การวิจัย

2) ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ ก.2

          สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า และระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่จะเข้าศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือเทียบเท่าหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง

แนวทางประกอบอาชีพ

  1. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
  2. นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ประสาทวิทยาศาสตร์ ชีวเคมี จุลชีววิทยา เวชพันธุศาสตร์                   กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิชีววิทยา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องมือและวัสดุสารเคมีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

แนวทางการศึกษาต่อ

         ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ค่าธรรมเนียม

        ค่าธรรมเนียม 21,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

  •  แผน ก. แบบ ก.1     จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร    48      หน่วยกิต
  • หมวดวิชาบังคับ 0  หน่วยกิต
  • รายวิชาบังคับ 0 หน่วยกิต
  • รายวิชาสัมมนา 4*  หน่วยกิต

2)  หมวดวิชาเลือก 0   หน่วยกิต

3)  หมวดวิชาวิทยานิพนธ์    48    หน่วยกิต

หมายเหตุ * หมายถึง ไม่นับหน่วยกิต

  • แผน ก. แบบ ก 2       จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร    48      หน่วยกิต
  • หมวดวิชาบังคับ                                         8        หน่วยกิต
  • รายวิชาบังคับ                                            8        หน่วยกิต
  • รายวิชาสัมมนา                                          4*       หน่วยกิต

2)  หมวดวิชาเลือก                             16      หน่วยกิต

3)  หมวดวิชาวิทยานิพนธ์                   24      หน่วยกิต

หมายเหตุ * หมายถึง ไม่นับหน่วยกิต