หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

 

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560)

หลักสูตร                                                                  

ภาษาไทย:        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์                               

ภาษาอังกฤษ:    Doctor of Philosophy Program in Medical Science                               

ชื่อปริญญา                                                             

ภาษาไทย:   ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์)                                    

ชื่อย่อ :  ปร.ด. (วิทยาศาสตร์การแพทย์)

ภาษาอังกฤษ:    ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Medical Science)                                                   

ชื่อย่อ : Ph.D. (Medical Science)       

ปรัชญา/วัตถุประสงค์                                                         

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้คู่ คุณธรรมจริยธรรม และ มีความสามารถในการศึกษาวิจัยและมีประสบการณ์ทางการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมจากการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนำความรู้มาพัฒนาต่อยอด ถ่ายทอด หรือประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ”                                                         

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร                                                             

  1. ผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีความสามารถในการศึกษาวิจัย และมีประสบการณ์ทางการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมีคุณธรรมและจริยธรรม
  2. มีความสามารถในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำความรู้มาพัฒนาต่อยอด ถ่ายทอด หรือประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ
  3. เพิ่มศักยภาพ ความเข้มแข็ง และสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับชาติหรือนานาชาติ 

คุณสมบัติผู้เข้าสมัคร                                                          

ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ 1.1 (สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท)

สำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีผลงานวิชาการในลักษณะบทความวิจัยเผยแพร่ในวารสารด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระดับชาติ (TCI กลุ่ม1) หรือระดับนานาชาติ โดยมีบทบาทเป็นผู้วิจัยหลัก หรือเป็นผู้ประพันธ์ซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับสำนักพิมพ์ (Corresponding author) จำนวนไม่น้อยกว่า 1 เรื่องที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เพื่อใช้ในการสำเร็จการศึกษา

ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ 2.1 (สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท)

สำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00

ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ 2.2 (สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี)

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และ มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา                                                     

  1. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
  2. นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ประสาทวิทยาศาสตร์ ชีวเคมี จุลชีววิทยา เวชพันธุศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิชีววิทยา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องมือและวัสดุสารเคมีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

ค่าธรรมเนียม                                                          

ค่าธรรมเนียมการศึกษา 25,000 บาทต่อภาคการศึกษา                    

โครงสร้างหลักสูตร     

ก. แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร      64      หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)

1) หมวดวิชาบังคับ                                    

– รายวิชาสัมมนา                                     8        หน่วยกิต

  (ไม่นับหน่วยกิต)     

2) หมวดวิชาเลือก
                                     0        หน่วยกิต

3) หมวดวิทยานิพนธ์                               64      หน่วยกิต

ข. แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร       64      หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)

1) หมวดวิชาบังคับ            8      หน่วยกิต                  

– รายวิชาบังคับ     8      หน่วยกิต

– รายวิชาสัมมนา 8       หน่วยกิต

  (ไม่นับหน่วยกิต)     

2) หมวดวิชาเลือก 8      หน่วยกิต

3) หมวดวิทยานิพนธ์ 48      หน่วยกิต

ค. แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร     96      หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)

1) หมวดวิชาบังคับ            8        หน่วยกิต                  

– รายวิชาบังคับ 8        หน่วยกิต

– รายวิชาสัมมนา 8        หน่วยกิต

  (ไม่นับหน่วยกิต)     

2) หมวดวิชาเลือก                             24      หน่วยกิต

3) หมวดวิทยานิพนธ์                           64      หน่วยกิต