ข่าวประชาสัมพันธ์การรับสมัครอาจารย์แพทย์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567
10 พฤศจิกายน 2566
ด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความประสงค์รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลทั่วไปเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานสายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สำนักวิชาแพทยศาสตร์ จำนวน 34 อัตรา ได้แก่
อายุรศาสตร์ 2 อัตรา
ศัลยศาสตร์ 1 อัตรา
กุมารศัลยศาสตร์ 1 อัตรา
สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 3 อัตรา
กุมารเวชศาสตร์ 3 อัตรา
ออร์โธปิดิกส์ 4 อัตรา
เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 4 อัตรา
จิตเวชศาสตร์ 3 อัตรา
รังสีวิทยา 1 อัตรา
วิสัญญีวิทยา 2 อัตรา
เวชศาสตร์ครอบครัว 2 อัตรา
โสตศอนาสิกวิทยา 3 อัตรา
เวชศาสตร์ฟื้นฟู 2 อัตรา
พยาธิวิทยา 2 อัตรา
นิติเวชศาสตร์ 1 อัตรา
1.คุณสมบัติทั่วไป
ข้อ 1 คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นพนักงานสายวิชาการ ตามประกาศฯ เรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นพนักงานสายวิชาการของมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2564
1.1 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาภายใน ประเทศหรือต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยรับรอง
1.2 คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญา ดังนี้
– เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรีหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตไม่ต่ำกว่า 3.25
1.3 มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ คือ TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือผลสอบอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันสมัคร ผลสอบอื่นที่เทียบเท่าคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้ TOEFL (Paper) 550 คะแนน มีดังนี้
CEFR B2 เทียบเท่า IELTS 6.5 / IELTS 6.5/TOEIC 686/ TOEFL IBT (Internet-Based Test) 80/ TOEFL PBT (Paper-Based Test) 550/ TOEFL ITP (Institutional Testing Program) 550/ TOEFL CBT (Computer-Based Test) 213/WU-TEP 84/ CU-TEP 100
1.4 คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอื่นๆตามที่หน่วยงานกำหนด
ข้อ 2 อาจารย์สัญญาจ้างของมหาวิทยาลัยซึ่งมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือผู้ที่มีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นพนักงานสายวิชาการมีเงือนไขดังนี้
(1) ต้องมีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษคือ TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนนหรือผลสอบอื่นที่เทียบเท่าซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันสมัคร
(2) ต้องได้คะแนนการประเมินผลการเรียนการสอนโดยนักศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนด เฉลี่ยทุกรายวิชาไม่ต่ำกว่า 4.25 สำหรับผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นต้องได้คะแนนการประเมินผลการเรียนการสอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆเฉลี่ยทุกรายวิชา ไม่ต่ำกว่า 4.25
ข้อ 3 ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามประกาศนี้ให้อธิการบดีเป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยของอธิการบดีถือเป็นที่สุด
- คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
2.1 กรณีสมัครเป็นอาจารย์แพทย์ต้นสังกัดเพื่อเข้าศึกษาฝึกอบรมรมแพทย์ประจำบ้าน
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตจากสถาบันที่แพทยสภารับรอง
– มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา
2.2 กรณีสมัครเป็นอาจารย์แพทย์
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสถาบันที่แพทยสภารับรอง และสำเร็จการศึกษา/ผ่านการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน (แพทย์เฉพาะทาง) ในสาขาดังต่อไปนี้ คือ
อายุรศาสตร์
ศัลยศาสตร์
กุมารศัลยศาสตร์
สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
กุมารเวชศาสตร์
ออร์โธปิดิกส์
เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
จิตเวชศาสตร์
รังสีวิทยา
วิสัญญีวิทยา
เวชศาสตร์ครอบครัว
โสตศอนาสิกวิทยา
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
พยาธิวิทยา
นิติเวชศาสตร์
– มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และหนังสือแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาเวชกรรม
- คุณสมบัติอื่น ๆ
3.1 มีความรู้ความสามารถตรงสายงานที่สมัครเป็นอย่างดี และมีความเข้าใจในปรัชญา ปณิธาน และภารกิจของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างแท้จริง
3.2 เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานประจำเต็มเวลาได้
3.3 เป็นผู้ใฝ่รู้และมีความตั้งใจจริงในการทำงาน รวมทั้งต้องสามารถทุ่มเทและอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
3.4 เป็นผู้ที่มีความเข้าใจและยอมรับเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพการทำงานและเงื่อนไขต่างๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- อัตราเงินเดือน
4.1 วุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า อัตราเงินเดือนเริ่มต้น 40,000 บาท
4.2 วุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า อัตราเงินเดือนเริ่มต้น 28,000 บาท
4.3 ค่าตอบแทนวิชาชีพแพทย์
กลุ่มที่ 1 แพทย์ที่ยังไม่มีวุฒิบัตร (วว.) หรือหนังสืออนุมัติ (อว.) แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (15,000บาท)
กลุ่มที่ 2 แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตร (วว.)หรือหนังสืออนุมัติ (อว.) แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสาขาต่างๆนอกเหนือจากกลุ่มที่ 3 (24,000 บาท)
กลุ่มที่ 3 แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตร (วว.)หรือหนังสืออนุมัติ (อว.) แสดงความรู้ความชำนาฯในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสาขาหนึ่งสาขาใด (29,000 บาท) ดังนี้
1) สาขาพยาธิวิทยาทั่วไป
2) สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค
3) สาขาพยาธิวิทยาคลินิก
4) สาขานิติเวชศาสตร์
5) สาขาจิตเวชศาสตร์
6) สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
7) สาขาประสาทศัลยศาสตร์
8) สาขาศลัยศาสตร์ทรวงอก
9) สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน(แขวงระบาดวิทยา)
10) ระดับอนุสาขาที่แพทย์ได้รับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านในปีสุดท้ายหรือได้รับวุฒิบัตร(วว.) หรือหนังสืออนุมัติ (อว.)แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในอนุสาขาของสาขาที่กำหนดเป้นสาขาหลักอยู่แล้ว
11) สาขาวิชาหรืออนุสาขานอกเหนือจาก 1)-10) ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารงานบุคคลพิจารณาอนุมัติ
ทั้งนี้อัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นๆที่จะได้รับมหาวิทยาลัยจะพิจารณาตามคุณวุฒิการศึกษา ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล
สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลที่พนักงานมีสิทธิ์ได้รับตามระเบียบประกาศข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในแต่ละกรณีมีดังต่อไปนี้
(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(2) ค่ารักษาพยาบาล
(3) การตรวจสุขภาพประจำปี
(4) ประกันภัยอุบัติเหตุ
(5) ค่าเล่าเรียนบุตร
(6) เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
(7) เครื่องราชอิสริยาภรณ์
(8) รถรับ – ส่ง
(9) ที่พักบุคลากร/เงินช่วยเหลือค่าที่พัก
(10) เครื่องแบบพนักงานและเงินช่วยเหลือค่าเครื่องแบบ
(11) เงินยืมเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์
(12) เงินกู้เพื่อการเคหะสงเคราะห์พนักงาน
(13) เงินช่วยเหลือชดใช้ทุนและหรือเบี้ยปรับ
(14) ค่าทำขวัญและค่าทำศพ
(15) เงินชดเชย
(16) ฌาปนกิจสงเคราะห์ (ช.พ.ค. – ช.พ.ส.)
(17) สโมสรวลัยลักษณ์
(18) สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
(19) ศูนย์กีฬาและสุขภาพ
(20) กองทุนเงินทดแทนและประกันสังคม

